การแสดงท้องถิ่นของชุมชน


นอกจากที่ทุกคนจะได้ สัมผัสกับบรรยาการย้อนยุคและเลือกซื้ออาหาร ขนมแบบดั้งเดิมของชาวลาวเวียงแล้ว ยังจะได้รับชมการแสดงพื้นบ้านต่างของชุมชนอีกมากมาย ซึ่งเป็นการแสดงแบบท้องถิ่นแท้ๆ เป็นเยาวชนในหมู่บ้านและชาวบ้านที่มีความรู้ความสามารถ มาแสดงให้ชมกันอย่างฟรีๆ โดยชาวบ้านแต่ละหมู่บ้านจะผลัดกันมาแสดงในต่างการแสดงต่างๆ ที่แต่ละหมู่ถนัด


เพลงยฉ่อยย้อนยุค

การแสดงแรก "เพลงยฉ่อยย้อนยุค"เพลงฉ่อย เป็นเพลงพื้นเมืองที่ไม่ทราบถิ่นกำเนิด เป็นการละเล่นเพลงพื้นเมืองที่แพร่หลายมากที่สุดเพลงหนึ่ง มีคนร้องเล่นกันอย่างกว้างขวาง ไม่มีเครื่องดนตรีประกอบการร้องนั้น มีแต่การปรบมือเป็นการให้ประกอบจังหวะอย่างเดียว แต่ส่วนภายหลังเขาเอา "กรับ" มาตีด้วย การแต่งตัวนั้น ชายหญิงนุ่งผ้าโจงกระเบน ใส่เสื้อคอไทย คอกลมกระดุม 3 เม็ด มีผ้าขาวม้าเคียนพุง ส่วนหญิงใส่เสื้อสบาย ๆ แต่มีสไบเฉียง ทุกครั้งและขาดมิได้ เวลาเขียนคิ้วใช้ผงถ่านกากมะพร้าว



เพลงเกี่ยวข้าว

การต่อมาเรียกว่า "เพลงเกี่ยวข้าว" เป็นการแสดงที่ใช้สำหรับร้องเพลงกันในขณะลงแขกเกี่ยวข้าว อันเป็นอาชีพสำคัญของประชาชนชาวไทยอย่างหนึ่ง เพื่อให้ความสนุกสนานกับความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าในการงาน และเชื่อมความสามัคคีในระหว่างพื้นบ้านอาชีพเดียวกัน เพลงเกี่ยวข้าวจะเล่นกันในฤดูเกี่ยวข้าว จะเล่นกันเมื่อหยุดจากการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว เหมือนกับเพลงเต้นกำรำเคียว กล่าวคือ จะเล่นเพลงเกี่ยวข้าวก่อนที่จะเล่นเพลงเต้นกำรำเคียว และไม่มีกำหนดเวลาในการเล่น คือ เล่นกันจนเหนื่อยก็เลิก เนื้อความของเพลงมักจะเกี่ยวกับ การไต่ถามถึงการทำนาผสมผสานการเกี้ยวพาราสีกัน


รำวงย้อนยุค

การแสดงสุดท้ายเรียกว่า "รำวงย้อนยุค" หรือ "รำวงพื้นบ้าน" คือ รำโทนในภาคกลาง ซึ่งชาวจันทบุรี เรียกกันทั่วไปในอดีตว่า "รำวงเขี่ยไต้" เป็นการแสดงพื้นบ้านของชาวบ้าน เมื่อประมาณ 50-60 ปีมาแล้ว เพื่อเป็นการบันเทิง ในขณะนวดข้าว สลับกับการร้องเพลงหงส์ฟาง โดยใช้เครื่องดนตรี เป็นอุปกรณ์ที่หาได้ในขณะนั้น เป็นเครื่องกำหนดจังหวะ เช่น ใช้เคาะไม้ เคาะปี๊ป ต่อมาใช้เป็นศิลปะในการหาเลี้ยงชีพ คือรับจ้างแสดงตามงานต่าง ๆ หรือมักเล่นกันในช่วงในฤดูแล้ง มักจัดขึ้นในงานวัด เช่น งานวันวิสาขบูชา งานประจำปี งานบวช









ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อาหารพื้นบ้านสไตส์ลาวเวียง

ชุมชนลาวเวียง บ้านหาดสองแคว จังหวัด อุตรดิตถ์