ประเพณีและวัฒนธรรม


ตักบาตรหาบจังหัน

ในวิถีชีวิตธรรมดาที่ไม่ธรรมดา ภาพที่ทุกคนเคยเห็นกันในการใส่บาตรตอนเช้าในต่างจังหวัด ก็คือการที่ทุกคนออกมายืนรอใส่บาตรพระกันที่หน้าบ้านตอนเช้าๆ แล้วพระสงฆ์ก็จะออกบิณฑบาตไปยังบ้านต่างๆ

แต่ที่หมูบ้าน "หาดสองแคว" อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ เป็นการใส่บาตรที่ไม่ธรรมดาไม่เหมือนหมู่บ้านอื่นๆ เพราะเป็นการใส่บาตรซึ่งเป็นประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นของที่นี่ เรียกว่า "การตักบาตรหาบจังหัน" หรือการ "ประเพณีหาบสาแหรก" ซึ่งเป็นประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สืบทอดกันมานานตั้งแต่สมัย บรรพบุรุษ





โดยคำว่า "จังหัน" หมายถึงภัตตาอาหารที่จะถวายแด่พระสงฆ์ในตอนเช้า พระสงฆ์จากวัดหาดสองแควจะแบ่งสายกันออกเดินบิณฑบาตไปตามหมู่บ้าน เดินไปจนสุดเส้นทางแล้วก็จะเดินกลับ โดยจะมีชาวบ้านที่อยู่ท้าบหมู่บ้าน จะตีเกราะเป็นสัญญาณให้ทุกคนในหมู่บ้านรู้ เพื่อที่จะได้ออกมายืนรอใส่บาตรกันชาวบ้านที่ยืนรอใส่บาตรอยู่ก็จะใส่บาตรเฉพาะข้าวสุกหรือข้าวสวยนั้นเอง โดยที่จะไม่มีกับข้าวอื่นๆ ใส่ลงไปในบาตรด้วย เพราะจะนำกับข้าวอาหารคาวหวานอื่นๆ ตามไปที่วัดทีหลัง โดยการตักบาตรหาบจังหันนี่ จะอยู่ตรงที่ การนำสำรับอาหารหรือปิ่นโต มาวางไว้ที่แป้นไม้หน้าบ้านของตนเอง จากนั้นก็จะมีชาวบ้านที่อาสาเป็ฯคนหาบสาแหรกไม้คาน สายละ 3-4 คนนำอาหารของแต่ละบ้านไปถวายพระที่วัดแทนนั้นเอง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อาหารพื้นบ้านสไตส์ลาวเวียง

การแสดงท้องถิ่นของชุมชน

ชุมชนลาวเวียง บ้านหาดสองแคว จังหวัด อุตรดิตถ์