บทความ

จุดเริ่มต้น ของ ถนนสายวัฒนธรรม ชุมชนลาวเวียง

รูปภาพ
ถือได้ว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดอุตรดิตถ์ เลยก็ว่าได้ ถนนวัฒนธรรม ชุมชนลาวเวียง ที่จะทำให้นักท่องเที่ยงได้มาสัมผัสกับวัฒนธรรมของคนลาวเวียง และได้ชิมอาหารพื้นบ้าน ที่มีรสชาติแบบดั่งเดิมแท้ๆ ซึ่งชาวนำมาจำหน่ายเอง และยังมีสิ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยว ได้เพลิดเพลินไปกับการแสดงพื้นบ้าน ที่นำมาแสดงให้นักท่องเที่ยวชมกันในระหว่างเดินเที่ยวงานอีกด้วย สำหรับจุดเริ่มต้นของถนนวัฒนธรรม ชุมชนลาวเวียงบ้านหาดสองแคว จังหวัดอุตรดิตถ์  เดิมทีหมู่แห่งนี่เป็นหมู่บ้านเล็กๆ และมีวิถึชีวิตที่โดดเด่นมาก เป็นเอกลักษณ์ นายพงษ์ เทพชัยอ่อน นายกองค์บริหารส่วนตำบลหาดสองแคว จึงได้ทำการจัดกิจกรรม ถนนสายวัฒนธรรมขึ้น เพื่อที่จะส่งเสริม ขนบธรรมเนียน ประเพณีและเสริมวัฒนธรรมอันดีงาม ของชาวลาวเวียง เพื่อที่จะไม่ให้ศูนย์หายไปตามกาลเวลา นํ้าอัดลมโบราณ ภาชนะที่ใช้ทำจากกระบอกไม้ไผ่  ดื่มนํ้าหมดแล้วสามารถนำเอาภาชนะ ไปใช้ทำประโยชน์อย่างอื่นต่อได้อีก  หริกอั่วข้าวโพด เป็นเมนูพื้นบ้าน เป้นอาหารทานเล่น  ภาชนะที่ใช้ ทำจากใบตอง เป็นวัสดุจากธรรมชาติ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม การแสดงดนตรีพื้

ชุมชนลาวเวียง บ้านหาดสองแคว จังหวัด อุตรดิตถ์

รูปภาพ
ชุมชนลาวเวียงจันทร์ บ้านหาดสองแคว เดิมอพยพมาจากเมืองลาวเวียงจันทร์ มาตั้งถิ่นฐานอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่นํ้าน่าน ในปัจจุบันชุมชนได้ขนาดใหญ่ขึ้นไปทางทิศเหนือของแม่นํ้าน่าน จึงเกิดเป็นชุมชนเล็กๆ ได้แก่บ้านหาดสองแคว สำหรับที่มาของชื่อหมู่บ้านหาดสองแควนั้น ตั้งตามลักษณะภูมิประเทศในขณะนั้น ซึ่งเป็นทางออกของลำนํ้าสองสายที่ไหลมาบรรจบกัน คือแม่นํ้าน่านกับคลองตรอน จึงตั้งชื่อเรียกว่าบ้านหาดสองแคว นอกจากยังมีชุมชนอื่นๆโดยรอบอีก ได้แก่บ้านวังสะโม บ้านหาดสองแคว บ้านเด่นสำโรงและบ้านวังแดง ชุมชนลาวเวียงหมู่บ้านหาดสองแคว เป็นชุมชนที่เข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 3 หลังจากการปราบกฏของเจ้าอนุวงศ์ได้แล้ว ในปี พ.ศ. 2371 บ้านหาดสองแคว หรือ ชุมชนลาวเวียง จากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ได้กล่าวไว้ว่า บรรพบุรุษของชุมชนลาวเวียงจันทน์หมู่บ้านหาดสองแคว ได้ถูกกวาดต้อนมาจากเมืองลาวเวียงจันทน์ ในฐานะเชลยศึกสงคราม แรกเริ่มถูกส่งเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่านที่หมู่บ้านกองโค ตำบลคอรุมอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ในปัจจุบันเมื่อชุมชนขยายใหญ่ขึ้น จึงขยายขึ้นไปทางทิศเหนือ ตามลำแม่น้ำน่าน จนถึงเขตบ้าน

ถนนสายวัฒนธรรม ชุมชนลาวเวียง

รูปภาพ
ถนนสายวัฒนธรรมชุมชนลาวเวียงตำบลหาดสองแคว ย่างเลาะ เซาะกิน เลาะเบิง สัมผัสบรรยากาศชุมชนลาวเวียงที่มีอัตลักษณ์เป็นของตัวเอง ชิมอาหารพื้นบ้านท้องถิ่น ถนนสายวัฒนธรรม ชุมชนลาวเวียง บ้านหาดสองแคว จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นถนนคนเดินเล็กๆ ซึ่งมีชาวบ้านลาวเวียง ที่มีวิถึชีวิตการดำเนินชีวิต ในแบบฉบับของตัวเองมาอย่างยาวนาน มีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ภายในชุมชนมีความเงียบสงบ เป็นไปอย่างเรียบง่าย ท่านนายก พงษ์เทพ ชัยอ่อน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหาดสองแคว จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการเผยแพร่ วิถึชีวิตและวัฒนธรรมให้กับคนรุ่นใหม่ได้ศึกษาและเรียนรู้ รวมไปถึงการสืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามนี้ต่อไป ภายในงาน จะมีร้านค้าต่างๆ ที่ตกแต่งโดยให้บรรยากาศย้อนยุค วัสดุและภาชนะที่ใช้ใส่อาหาร ก็จะเป็นวัสดุที่ทำจากธรรมชาติ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ชาวบ้านและแม่ค้าที่มาขายภายในงาน ก็จะแต่งตัวด้วยเสื้อพื้นเมืองสีขาว ผู้หญิงจะนุ้งผ้าถุงสีพื้นสีเดียวกัน ผู้ชายจะนุ่งกางเกงขาก๊วยสีพื้น เป็นต้น พ่อค้าแม่ค้าส่วนใหญ่ก็จะเป็นชาวบ้าน ในหมู่บ้านและคนในชุมชน   ภาษาพูดของชาวลาวเวียงในบ้านหาดสองแคว ก็จะแตกต่างจากภาษาลาวอื่น ๆ

อาหารพื้นบ้านสไตส์ลาวเวียง

รูปภาพ
ที่ชุมชนลาวเวียงแห่งนี่ นอกจากจะมีวัฒนธรรมที่ดีงาม มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองแล้ว เสน่ห์อย่างหนึ่งของการมาเที่ยวที่นี่ ก็การที่ได้มาชิมอาหารพื้นบ้าน ซึ่งเป็นการเข้าถึงวิถีชีวิตของชุมชนนั้นๆได้อย่างแท้จริง รสชาติอร่อยแปลกใหม่ อร่อยไม่เหมือนใคร แถมยังดีต่อสุขภาพอีกด้วย หา รับประทานที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว ต้องที่นี่ที่เดียวเท่านั้น แกงหยวก อาหารจานแรกที่จะนำเสนอก็คือ "แกงหยวก" ส่วนผสมหนักๆของคือ "หยวกกล้วย" ส่วนที่นำมาแกงนั้นคือใจกลางของต้นกล้วย ที่ยังอ่อนๆอยู่นิยมใส่กับไก่บ้านและวุ้นเส้น บ้างก็ใส่ปลาแห้ง เมนูนี่เป็นอาหารตามความเชื่อของชาวบ้านหาดสองแคว เพราะหยวกกล้วยในแกงมีเยื้อมีใยเยอะมาก เชื่อว่าถ้าใครได้กินแล้วก็จะมีเยื้อใยต่อกัน จากไปแล้วจะได้กลับมาเยี่ยมเยือนกันอีก พริวอั่ว ต่อมาอาหารจานที่สอง  เป็นอาหารจานเด่นคู่ครัวของที่นี่ นั้นก็คือ "พริวอั่ว" หรือ "พริกยัดไส้" นั้นเอง เป็นพริกเม็ดใหญ่ที่ควักไส้ออก แล้วนำข้าวโพดสับให้ละเอียด ปรุงรสด้วยเครื่องเทศหลากหลายชนิด แล้วนำมายัดไส้ เอาไปทอดให้สุก กินกับข้าวสวยร้อนๆ จะทานเป็นของว่าง

โครงการที่น่าสนใจของหมู่บ้าน

รูปภาพ
โครงการปั่นจักรยานสายฝัน   เป็นโครงการปั่นจักรยานจิตรอาสาที่เกิดขึ้น จากการร่วมมือกันของผู้ปกครองและชาวบ้านในชุมชนหาดสองแคว จาการเริ่มต้นของคนในชุใชนเอง ที่ต้องการลดปัญหาเรื่องขยะในตรัวเรือน จึงรวมตัวกันก่อตั้งโครงการนี่ขึ้นมา ปัจจุบันขยายครอบคลุมถึง 7 หมู่บ้าน โครงการนี่จัดขึ้นเพื่อที่จะปลึกฝั่งให้เยาวชนรักษาสิ่งแวดล้อม และยังสามารถช่วยปรับปรุงภมูิทัศน์ให้ชุมชนของตัวเองน่าอยู่ยิ่งขึ้น แถมยังเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์อีด้วย เดิมทีโครงการปั่นจักรยานเก็บขยะรอบหมู่บ้านนั้น เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นโครงการที่ทำต่อจากโครงการทำปุ๋ยหมักชีวภาพในชุมชน และโครงการปั่นจักรยานเก็บผักขาย แต่โครงการทั้ง 2 ได้ยกเลิกไป ประกอบกับตำบลหาดสองแควได้รับรางวัล “ธรรมาภิบาลรักสามัคคี” ซึ่งถือเป็นรางวัลที่แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็ง และสามารถช่วยตนเองได้ของคนในชุมชน การนำเด็กๆ ในชุมชนมาร่วมรณรงค์นั้น เนื่องจาก “เพื่อต้องการให้เด็กๆ รู้จักหวงแหนและหันมาพัฒนาหมู่บ้านของตนให้น่าอยู่ และสร้างจิตสำนึกเรื่องการรักบ้านเกิด เพราะหากชุมชนของเราน่าอยู่ สะอาด เรียบร้อย ก็จะทำให

การแสดงท้องถิ่นของชุมชน

รูปภาพ
นอกจากที่ทุกคนจะได้ สัมผัสกับบรรยาการย้อนยุคและเลือกซื้ออาหาร ขนมแบบดั้งเดิมของชาวลาวเวียงแล้ว ยังจะได้รับชมการแสดงพื้นบ้านต่างของชุมชนอีกมากมาย ซึ่งเป็นการแสดงแบบท้องถิ่นแท้ๆ เป็นเยาวชนในหมู่บ้านและชาวบ้านที่มีความรู้ความสามารถ มาแสดงให้ชมกันอย่างฟรีๆ โดยชาวบ้านแต่ละหมู่บ้านจะผลัดกันมาแสดงในต่างการแสดงต่างๆ ที่แต่ละหมู่ถนัด เพลงยฉ่อยย้อนยุค การแสดงแรก "เพลงยฉ่อยย้อนยุค"เพลงฉ่อย เป็นเพลงพื้นเมืองที่ไม่ทราบถิ่นกำเนิด เป็นการละเล่นเพลงพื้นเมืองที่แพร่หลายมากที่สุดเพลงหนึ่ง มีคนร้องเล่นกันอย่างกว้างขวาง ไม่มีเครื่องดนตรีประกอบการร้องนั้น มีแต่การปรบมือเป็นการให้ประกอบจังหวะอย่างเดียว แต่ส่วนภายหลังเขาเอา "กรับ" มาตีด้วย การแต่งตัวนั้น ชายหญิงนุ่งผ้าโจงกระเบน ใส่เสื้อคอไทย คอกลมกระดุม 3 เม็ด มีผ้าขาวม้าเคียนพุง ส่วนหญิงใส่เสื้อสบาย ๆ แต่มีสไบเฉียง ทุกครั้งและขาดมิได้ เวลาเขียนคิ้วใช้ผงถ่านกากมะพร้าว เพลงเกี่ยวข้าว การต่อมาเรียกว่า "เพลงเกี่ยวข้าว" เป็นการแสดงที่ใช้สำหรับร้องเพลงกันในขณะลงแขกเกี่ยวข้าว อันเป็นอาชีพสำคัญของประชาชนชาวไ

ประเพณีและวัฒนธรรม

รูปภาพ
ตักบาตรหาบจังหัน ในวิถีชีวิตธรรมดาที่ไม่ธรรมดา ภาพที่ทุกคนเคยเห็นกันในการใส่บาตรตอนเช้าในต่างจังหวัด ก็คือการที่ทุกคนออกมายืนรอใส่บาตรพระกันที่หน้าบ้านตอนเช้าๆ แล้วพระสงฆ์ก็จะออกบิณฑบาตไปยังบ้านต่างๆ แต่ที่หมูบ้าน "หาดสองแคว" อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ เป็นการใส่บาตรที่ไม่ธรรมดาไม่เหมือนหมู่บ้านอื่นๆ เพราะเป็นการใส่บาตรซึ่งเป็นประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นของที่นี่ เรียกว่า "การตักบาตรหาบจังหัน" หรือการ "ประเพณีหาบสาแหรก" ซึ่งเป็นประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สืบทอดกันมานานตั้งแต่สมัย บรรพบุรุษ โดยคำว่า "จังหัน" หมายถึงภัตตาอาหารที่จะถวายแด่พระสงฆ์ในตอนเช้า พระสงฆ์จากวัดหาดสองแควจะแบ่งสายกันออกเดินบิณฑบาตไปตามหมู่บ้าน เดินไปจนสุดเส้นทางแล้วก็จะเดินกลับ โดยจะมีชาวบ้านที่อยู่ท้าบหมู่บ้าน จะตีเกราะเป็นสัญญาณให้ทุกคนในหมู่บ้านรู้ เพื่อที่จะได้ออกมายืนรอใส่บาตรกัน ชาวบ้านที่ยืนรอใส่บาตรอยู่ก็จะใส่บาตรเฉพาะข้าวสุกหรือข้าวสวยนั้นเอง โดยที่จะไม่มีกับข้าวอื่นๆ ใส่ลงไปในบาตรด้วย เพราะจะนำกับข้าวอาหารคาวหวานอื่นๆ ตามไปที่วัดทีหลัง โดยการตักบาตร